Breaking News

KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่าตลาดหุ้นไทยกำลังเผชิญแรงกดดันจากปัจจัยมหภาคหลายด้าน ทั้งเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัวช้า นโยบายการเงินที่ยังคงตึงตัว และแรงกดดันจากมาตรการภาษีระหว่างประเทศ ส่งผลให้ปรับลดเป้าหมายดัชนี SET ปี 2025 ลงเหลือ 1,230 จุด จากเดิม 1,460 จุด ซึ่งสะท้อนอัพไซด์เพียง 5% จากระดับปัจจุบัน นอกจากนี้ ในระยะสั้นยังมีความเสี่ยงที่ดัชนีจะปรับระดับลงไปทดสอบ 1,000 จุด ซึ่งอาจกระตุ้นให้ภาครัฐต้องออกมาตรการพยุงเศรษฐกิจ  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองทิศทางเศรษฐกิจไทย 2568 เสี่ยงหลายปัจจัยลบ ทำภาคการผลิตหดตัวติดต่อกันเป็นปีที่ 3 คาดแรงส่งจากการท่องเที่ยวช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้แบบจำกัด ขณะที่ ยังคงประมาณการจีดีพีปี 2568 เติบโตที่ 2.4% *** KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทย ปี 2025 มีแนวโน้มโตได้ช้าลงกว่าที่ประเมินไว้ โดยคาดว่าจะเติบโตได้เพียง 2.3% จากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่กลับมาได้ต่ำกว่าที่คาด ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 3 ครั้ง โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอาจลงไปต่ำสุดที่ 1.25% ในปี 2026  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยเศรษฐกิจไทยปี 2567 โต 2.5% ต่ำกว่าคาดการณ์ไว้ที่ 2.6% เล็กน้อย GDP ไตรมาส 4 ขยายตัวที่ 3.2% YoY น้อยกว่าที่คาด หลักๆ เป็นผลจากสินค้าคงคลังที่หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้ามากกว่าที่คาด จากความความเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิตและการส่งออกที่ต่ำกว่าที่ประเมิน โดยแม้การส่งออกจะขยายตัวได้ดีในหลายสินค้า แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังแทบจะไม่ขยายตัว ขณะที่การผลิตภาคเกษตรขยายตัวต่ำ ทั้งเป็นผลจากการปรับฐานในไตรมาส 4/2566 ให้สูงขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้อัตราการขยายตัวในไตรมาส 4/2567 ต่ำกว่าที่คาดไว้  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยการส่งออกไทยในเดือน ธ.ค. 2567 ขยายตัว 8.7%YoY ส่งผลให้ทั้งปีขยายตัวได้ 5.4% โดยมีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์ จากการเร่งส่งออกสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ • ในปี 2568 การส่งออกไทยมีแนวโน้มเติบโตได้ต่ำกว่าปี 2567 ที่ 2.5% โดยครึ่งปีแรกยังมีแรงหนุนจากการเร่งนำเข้าสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือน ธ.ค. 2567 เร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 1.23% YoY สูงสุดในรอบ 7 เดือน และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ธ.ค. 2567 อยู่ที่ 0.79% YoY โดยมีปัจจัยหนุนหลักจากราคาพลังงานอย่างค่าไฟฟ้าและราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ปรับสูงขึ้นจากปัจจัยฐานต่ำในเดือน ธ.ค. 2566 เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของทางภาครัฐ ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มบางรายการปรับตัวสูงขึ้น

ซีพีแรม เปิดเวที “FINNOVA 2025 : ยกระดับความรู้สู่นวัตกรรมอาหาร”

ซีพีแรม เปิดเวที “FINNOVA 2025 : ยกระดับความรู้สู่นวัตกรรมอาหาร”
1
เขียนโดย intrend online 2025-04-25

เพิ่มขีดความสามารถอุตสาหกรรมอาหาร ปักหมุดไทยศูนย์กลางนวัตกรรมอาหารโลก พร้อมมุ่งสู่ความมั่นคงและยั่งยืนทางอาหาร

กรุงเทพ 25 เมษายน 2568 - บริษัท ซีพีแรม จำกัด (CPRAM) ผนึกกำลังกับ คณะวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการจัดการอาหาร สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ จัดงาน “FINNOVA 2025 : ยกระดับความรู้สู่นวัตกรรมอาหาร” เพื่อสร้างแพลตฟอร์มใหม่ในการจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และผลักดันนวัตกรรมอาหารไทยให้ก้าวไกลสู่เวทีโลก โดยการจัดงานครั้งนี้ เปิดโอกาสให้บุคลากรซีพีแรมได้ร่วมแสดงศักยภาพผ่านการประกวดผลงานนวัตกรรมอาหารที่มุ่งเน้นผลลัพธ์เชิงพาณิชย์และความยั่งยืนในทุกมิติ ณ ศาลากมลปัญญา บริษัท ซีพีแรม จำกัด สำนักงานใหญ่ จังหวัดปทุมธานี

นายวิเศษ วิศิษฏ์วิญญู กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีแรม จำกัด กล่าวว่า “FINNOVA มาจากสองคำ Food + Innovation เป็นเวทีที่เปิดกว้างสำหรับพนักงานซีพีแรมทุกคน เพื่อยกระดับความรู้และแบ่งปันผลงานนวัตกรรมอาหารของซีพีแรม โดยทุกโครงการได้มีการยกระดับความเป็นนวัตกรรมโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย (Creativity and Technology) เข้ามาช่วยในการสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมที่มีผลลัพธ์ในเชิงธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรม ผลงานนวัตกรรมของซีพีแรมนั้น มีความหลากหลาย อาทิ Product Innovation, Service Innovation, Process Innovation, Sustainability Innovation หรือ ESG และอื่นๆ เพื่อให้ได้มาซึ่ง Innovation เหล่านี้ เราจำเป็นจะต้องมีความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ทั้งในและต่างประเทศอย่างไร้พรมแดน ด้วยการแบ่งปันความรู้ และนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาพัฒนาร่วมกัน นำไปสู่ความมั่นคงและยั่งยืนทางอาหาร”

“Finnova 2025 : ยกระดับความรู้สู่นวัตกรรมอาหาร” แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก โดยช่วงแรกชูไฮไลต์กิจกรรม งานเสวนาพิเศษในหัวข้อ “Food Innovation for Sustainability - นวัตกรรมอาหารสู่ความยั่งยืน” โดยได้รับเกียรติจาก 3 ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ นายปริวรรต วงษ์สำราญ รองผู้อำนวยการด้านนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน), ดร.ธันยพร กริชติทายาวุธ ผู้อำนวยการสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย และผศ.ดร.ณรงค์เดช กีรติพรานนท์ ประธานหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาร่วมแบ่งปันองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหารในปัจจุบัน และแนวโน้มการพัฒนานวัตกรรมอาหารในอนาคตให้แก่ผู้เข้าร่วมงาน

ช่วงที่สองเป็นการประกวดผลงานนวัตกรรมอาหาร (Food Innovation) โดยแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่

1. ประเภท Product & Service Innovation เน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ รวมถึงผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ได้รับการปรับปรุงอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อสร้างคุณค่าที่แตกต่างให้แก่ลูกค้า

2. ประเภท Process Innovation เฟ้นหากระบวนการผลิตรูปแบบใหม่หรือกระบวนการที่ได้รับการปรับปรุงอย่างมีนัยสำคัญ ผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพและผลผลิตให้ดีขึ้น

3. ประเภท Sustainability Innovation / ESG แสดงถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหรือวิธีการใหม่ในกิจกรรมด้าน ESG ตลอดจนการสร้างผลกระทบเชิงบวก ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม ธรรมาภิบาล ความปลอดภัย และสุขภาวะอนามัยของผู้คน

การจัดงาน “Finnova 2025 : ยกระดับความรู้สู่นวัตกรรมอาหาร” มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้เกิดการเรียนรู้และแบ่งปันองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ภายในองค์กรและแก่บุคคลภายนอก สอดคล้องกับปรัชญา 3 ประโยชน์ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ที่มุ่งสร้างสรรค์ประโยชน์แก่ประเทศชาติ ประชาชน และองค์กร รวมถึงเป็นการส่งเสริม และพัฒนานวัตกรรมอาหารผ่านการประกวดผลงานนวัตกรรมที่มีผลลัพธ์ทางธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งเพื่อกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือระหว่างองค์กรและผู้เชี่ยวชาญในการสร้างนวัตกรรมอาหารเพื่อความยั่งยืน การดำเนินงานในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากผู้บริหารและพนักงานซีพีแรม คู่ค้าและผู้ที่สนใจ รวมทั้งคณาจารย์ บุคลากรและนักศึกษาของคณะวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการจัดการอาหาร หรือ SMAFT สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์